|
|
|
|
สภาพภูมิประเทศโดยส่วนใหญ่เป็นที่พื้นที่ราบลุ่ม บางส่วนเป็นพื้นที่ดอน
โดยมีคลองน้ำอนุศาสนนันทน์ สายชัยนาท –
ป่าสัก ผ่านทางด้านทิศตะวันออกของหมู่ที่ 1 มีคลองชลประทาน 17R ไหลผ่านทางด้านทิศใต้ของ
หมู่ที่ 1 และมีคลองลำโพนทองไหลผ่านทางด้านทิศเหนือของหมู่ที่ 1 ส่วนทางด้านทิศใต้ของหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 มีสถานีสูบน้ำระบบไฟฟ้าคลองสายบ้านสระตาแวว
ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับเทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่ที่ 4 มีเส้นทางคมนาคมหลัก
คือ ทางหลวงหมายเลข 3024 |
|
|
|
|
|
 |
|
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป |
|
|
|
 |
|
จากการสำรวจข้อมูลการมีไฟฟ้าใช้แต่ละครัวเรือน
ที่อยู่ในเขตพื้นที่ตำบลพุคา มีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
คิดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ |
|
|
|
|
|
|
|
ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม โดยทั่วไปมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง ในช่วงเดือนมี
นาคม และเดือนเมษายนอากาศร้อนอบอ้าวทั่วไป |
|
ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ช่วงเดือนพฤษภาคมมีฝนตกเล็กน้อย ในช่วงเดือนมิถุนายน และเดือนกรกฎาคมเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง และในช่วงเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม ฝนตกชุกต่อเนื่องบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรง จนเกิดอุทกภัยในปี 2553 และอุทกภัยรุนแรงใน ปี 2554 |
|
ฤดูหนาว เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคม 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อากาศค่อนข้างหนาวในช่วงเดือนมกราคม |
|
|
|
|
|
|
ประชาชนในตำบลพุคานับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถาน 4 แห่งดังนี้ |
|
วัดผดุงธรรม |
|
วัดสระตาแวว |
|
วัดบ้านโคก |
|
วัดหนองน้ำทิพย์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ประเพณี |
|
|
ประเพณีทำบุญกลางบ้าน |
ประมาณเดือน พฤษภาคม, มิถุนายน |
|
|
ประเพณีสารทลาว |
ประมาณเดือน กันยายน (ขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ) |
|
|
ประเพณีวันสงกรานต์ |
เดือน เมษายน |
|
|
ประเพณีวันลอยกระทง |
เดือน พฤศจิกายน |
|
|
ประเพณีวันเข้าพรรษา |
เดือน กรกฎาคม |
|
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปกรรม ได้มีการสืบทอดการตีกลองยาว |
|
ภาษาถิ่น ภาษาพูดของชาวตำบลพุคา คือ ภาษาลาว |
|
|
|
|
ในตำบลพุคาไม่มีแหล่งท่องเที่ยว แต่ได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นในชุมชน เช่น การจัดงานประเพณีลอยกระทงดอก
ทานตะวัน พิธีขอขมาพระแม่คงคาและกระทงสายร้อยดวงใจชาวตำบลพุคา และส่งเสริมการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของมูล
นิธิชัยพัฒนา |
|
|
|
|